การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Magnetic Resonance Imaging (MRI)
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI คืออะไร
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) คือ การตรวจร่างกายโดยเครื่องตรวจที่ใชคลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ใน ย่านความถี่วิทยุ ในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็งด้วยคอมพิวเตอร์ราย ละเอียดและความคมชัดสูง ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่าง ละเอียด โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อผู้รับการตรวจ
การเตรียมตัวเพื่อการตรวจ MRI
การเตรียมตัวเพื่อการตรวจ MRI จำเป็นต้องฉีดสารเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กเข้าไปในอวัยวะที่ต้องการตรวจก่อน ระหว่างการตรวจเครื่อง MRI จะส่งเสียงดังเป็นจังหวะ ผู้ถูกตรวจจะได้รับอุปกรณ์อุดหู ระหว่างการตรวจผู้ถูกตรวจจำเป็นต้องอยู่นิ่งๆ เพื่อให้บันทึกภาพ เช่นเดียวกับการตรวจด้วยเครื่องตรวจเอกซเรย์อื่นๆ
ข้อดีของการตรวจคลื่นไม่เหล็กไฟฟ้า MRI
- MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการ วินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ ในทุกๆระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือ เนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย (CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า)
- ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
- สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสีและการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมีประโยชน์ ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยัง สะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
- ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกายของคนไข้ รวมถึงไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
ข้อพึงระวังของการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
- ผู้ป่วยที่กลัวการอยู่ในที่แคบ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic)
- ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น
- ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips)
- metal plates ในคนที่ดามกระดูก
- ผู้ป่วยที่เปลี่ยนข้อเทียม
- ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve)
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู
- ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ ถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ
- ควรหลีกเลี่ยงในคนที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้ (medical devices)
- ผู้ป่วยที่ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟัน ออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ
- ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็กๆกระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะ และมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการ เคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นก่อให้เกิดอันตรายได้ (ภาพเอกซเรย์ธรรมดาของตาจะช่วยบอกได้ว่ามีหรือไม่มีโลหะอยู่ในลูกตา)
- ผู้ที่รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจทำให้สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด
- จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆไม่ควร ตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
- ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
- ห้องตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่น เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น เหล็กโลหะ การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น ATM, บัตรเครดิต, นาฬิกา, thumbdrive หรือ พวกเครื่อง Pocket PC