B.Care Medical Center | โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
02 532 4444
ติดต่อสอบถาม 02 532 4444
หน้าแรก / บทความสุขภาพ / นอนกัดฟัน… พฤติกรรมทำร้ายฟันไม่รู้ตัว
นอนกัดฟัน… พฤติกรรมทำร้ายฟันไม่รู้ตัว
15 กรกฎาคม 2020

     การนอนกัดฟันในขณะนอนหลับ เป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้าง ซึ่งการนอนกัดฟันนั้นเป็นพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้เพราะเกิดขึ้นหลังจากหลับไปแล้ว แต่มีข้อสันนิษฐานได้หลายสาเหตุด้วยกัน  ตั้งแต่เกิดจากแนวโน้มกับความสัมพันธ์ของความเครียดในชีวิตประจำวัน หรือบางคนอาจมีปัญหาทางด้านร่างกาย  บางคนอาจมีปัญหาเพราะยาที่รับประทาน แต่จะพบในเปอร์เซ็นต์ที่น้อย  รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ก็สามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้  แต่อาการจะไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนและยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ หากถามนักวิชาการบางกลุ่มก็จะได้คำตอบว่าเป็นเพราะความเครียด  ความวิตกกังวลก่อนที่จะนอน  บางกลุ่มบอกว่าในขณะนอนหลับจิตใต้สำนึกสั่งการให้ร่างกายพยายามบดถูฟันซี่ที่สูงกว่าให้เตี้ยลงหรือเสมอกับซี่อื่นๆ ขณะที่บางกลุ่มบอกว่าเป็นอาการหลับไม่สนิทหรือมีปัญหากับการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งก็ยังหาข้อสรุปกันต่อไปแน่นอน 

เพราะโดยทั่วไปการนอนกัดฟันนั้นจะมีอาการเสียวฟัน  ฟันสึก  ร้าว  แตก  บิ่น  บางรายอาจต้องซื้อฟันยางมาใส่เวลานอน แต่ก็ไม่สามารถหยุดอาการกัดฟันได้  จนทำให้ฟันยางขาดทะลุเกิดอาการข้างเคียงที่ตามมาก็คือ  ปวดเมื่อยขากรรไกร ข้างแก้ม ขมับ หูและศีรษะ

สำหรับการรักษาอาการนอนกัดฟันที่ดีที่สุดนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ที่ต้นเหตุ  แต่สามารถแก้ไขได้ที่ปลายเหตุ  โดยการไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจและแก้ไขอาการของแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่  Splin หรือที่เรียกว่าเฝือกสบฟัน  จะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดอาการเกิดเสียงในข้อขากรรไกร ลดเสียงการกัดฟัน เน้นฟัน ซึ่งอุปกรณ์นี้ทำมาจากอะครีลิกใสชนิดแข็ง สามารถใส่ฟันล่างหรือบนก็ได้  โดยให้ใส่เฉพาะเวลานอนและจะมีการปรับเครื่องมือเป็นระยะๆ  

 

วิธีสังเกตตนเองว่ามีอาการนอนกัดฟันหรือมีความเสี่ยงหรือไม่

  • รู้สึกเสียวฟันเวลาถูกของร้อนหรือเย็นและเวลาแปรงฟัน
  • รู้สึกตึงบริเวณหน้าหรือกล้ามเนื้อบริเวณหน้า
  • มีรอยเส้นบางๆ ที่เคลือบฟันของฟันบางซี่
  • ปวดฟันอย่างรุนแรง เหงือกอักเสบ
  • ปวดศีรษะ
  • มีแผลที่กระพุ้งแก้มด้านใน

 

ที่มา : สื่อมัลติมีเดีย กรมอนามัย

ขอบคุณภาพประกอบจาก freepik

บทความสุขภาพ
Copyright © 2020 Bcaremedicalcenter. All Rights Reserved.