โรคนิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างสารละลายหลักในถุงน้ำดี ได้แก่ คอเลสเตอรอล ไขมันฟอสเฟต และกรดน้ำดี จนเกิดเป็นตะกอนและนิ่วในที่สุด โดยก้อนนิ่วในถุงน้ำดี อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ รวมถึงจำนวนที่แตกต่างกัน หากปล่อยทิ้งไว้จนตะกอนนิ่วมีขนาดใหญ่ จะก่อให้เกิดอันตรายได้
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี
โรคนิ่วในถุงน้ำดี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ตั้งแต่อายุ 30 – 50 ปี ด้วยอาการของโรคคล้ายโรคกระเพาะอาหาร จึงถูกมองว่าไม่อันตราย เพียงแค่ซื้อยามารับประทานเองก็ได้ แต่ในความจริงแล้วโรคนิ่วในถุงน้ำดีมีอันตรายมาก หากพบอาการดังนี้ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยภายใน 1-2 สัปดาห์
หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วหล่นลงมาอุดตันท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบ หรือถ้ามีอาการ มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ภาวะดีซ่าน หรือปัสสาวะสีเข้ม ปวดท้องรุนแรงจนไม่สามารถนั่งหรือยืนได้ ควรรีบไปโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี
การวินิจฉัยก่อนผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี
แพทย์ซักประวัติเบื้องต้น ร่วมกับการตรวจร่างกายและเจาะเลือด หากพบว่าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยอัลตราซาวนด์บริเวณช่องท้องส่วนบน โดยจำเป็นต้องงดอาหารล่วงหน้า 6 ชั่วโมง และวิธีส่องกล้องเป็นวิธีที่ให้ผลรวดเร็วและแม่นยำมากกว่า
วิธีการรักษานิ่วในถุงน้ำดี
จากสถิติการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีของแพทย์ โดยส่วนใหญ่พบว่า การรับประทานยารักษามักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากยาไม่สามารถละลายก้อนนิ่วได้หมด รวมถึงเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วใหม่ได้ ส่วนเครื่องสลายนิ่วจะใช้ได้ดีเฉพาะนิ่วในท่อไต แต่ไม่ได้ผลสำหรับนิ่วในถุงน้ำดี
แพทย์แนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีออก เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) ซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS วิธีผ่าตัดที่เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้องได้ผลดีและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก เนื่องจากมีแผลขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม. ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับบ้านภายใน 1 – 2 วัน โดยวิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง แพทย์จะเจาะแผลเล็ก ๆ บริเวณสะดือและชายโครงขวา เพื่อสอดกล้องขนาดเล็กและเครื่องมือเข้าไปตรวจดูนิ่วในถุงน้ำดี จากนั้นจึงทำการตัดเลาะถุงน้ำดีออก เมื่อเสร็จแล้วก็ดึงเครื่องและกล้องออก และทำการเย็บปิดแผล เป็นอันจบขั้นตอนการรักษา
แต่หากผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน เช่น ถุงน้ำดีบวมมาก หรือมีพังผืดล้อมรอบมาก ทำให้แพทย์ไม่สามารถแยกอวัยวะข้างเคียงได้ชัดเจน อาจยังคงต้องใช้วิธีผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีเปิดแผลหน้าท้องแบบธรรมดา
แม้การผ่าตัดแบบผ่านกล้องจะมีโอกาสสำเร็จมากถึง 95 % แต่หากผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันนานกว่า 3 วัน รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคอื่นๆ ร่วมหลายโรค อาจมีโอกาสที่จะผ่าตัดผ่านกล้องไม่สำเร็จ โดยแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ดังนั้น เมื่อเกิดอาการน่าสงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี ไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือปล่อยไว้เป็นเวลานานจนอาจไม่สามารถรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแบบผ่านกล้องได้