โรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน เกิดจากการเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาทโดปามีน โดยสารโดปามีนจะเป็นเสมือนตัวส่งสัญญาณระหว่างสมองกับร่างกาย เพื่อควบคุมและกำหนดการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากเซลล์สมองส่วนนี้ได้รับความเสียหาย ปริมาณโดปามีนที่ผลิตได้ก็จะลดน้อยลง จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เคลื่อนไหวได้ตามปกติ
สาเหตุทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
สาเหตุทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน ที่ทำให้โดพามีนลดลงนั้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และในปัจุบันยังไม่แน่ชัดว่า ปัจจัยใดที่เป็นปัจจัยเดียวที่กระตุ้นให้เกิดโรคพาร์กินสัน แต่มีการศึกษาและค้นพบว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคพาร์กินสัน ได้แก่ ผู้ป่วยบางรายมีประวัติสัมผัสยาฆ่าแมลง มีประวัติใช้สารเสพติดบางชนิด หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน ก็จะเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
อาการของโรคพาร์กินสัน
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการหลัก ๆ ได้แก่
นอกจากนั้นอาจจะมาด้วยอาการอื่น ๆ ได้อีก เช่น เขียนหนังสือตัวเล็กลง ใบหน้าแสดงสีหน้าออกได้น้อย ยิ้มน้อย ไม่ค่อยแสดงออกทางสีหน้า
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน
เกณฑ์การวินิจฉัยขั้นตอนแรกจะดูว่าผู้ป่วยมีอาการคล้ายคลึงกับอาการที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ หลังจากนั้นซักถามประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่อาจจะมีอาการคล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสัน เช่น มีประวัติได้รับยาต้านอาการทางจิตเวช ได้รับยาแก้อาเจียนคลื่นไส้เวียนศีรษะ มีประวัติเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตมาก่อน มีประวัติเป็นเนื้องอกสมอง หรือมีอาการโพรงสมองบวมน้ำ จากนั้นขั้นตอนสุดท้ายจะหาข้อสนับสนุนในการเป็นโรคพาร์กินสัน เช่น มีอาการข้างหนึ่งนำมาก่อนอีกข้างหนึ่ง และมีลักษณะอาการดำเนินโรคไปอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป
การรักษาโรคพาร์กินสัน
ภาวะพาร์กินสันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเซลล์เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย แต่มีวิธีการรักษาที่จะช่วยให้อาการที่เป็นอยู่ทุเลาลง เพื่อลดอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด
สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน นอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว ยังแนะนำส่งเสริมให้ผู้ป่วยออกกำลังกายที่ได้ประโยชน์ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ได้แก่ การรำมวยจีน การรำไทเก๊ก และการเต้นรำในจังหวะแทงโก้ แต่หากไม่สามารถทำได้แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ เช่น การเดินรอบสนาม การปั่นจักรยาน หรือออกกำลังกายอยู่ในบ้าน
ที่มา : คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ขอบคุณภาพประกอบจาก freepik