โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ ใส่ใจและห่วงใยบริการสำหรับครอบครัว โดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อถือจากคุณพ่อคุณแม่และครอบครัวที่มารับบริการ ตั้งแต่ฝากครรภ์จนกระทั่งคลอดสมาชิกตัวน้อยจนถึงเด็กโต เราตระหนักในความสำคัญของบุตรหลานของท่านเป็นพิเศษ จึงเกิดศูนย์พัฒนาการและการเรียนรู้สำหรับเด็กขึ้น โดยมีโปรแกรมและคลินิกต่าง ๆ ตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยเรียน
คลินิกต่าง ๆ ใน ศูนย์พัฒนาการและการเรียนรู้สำหรับเด็ก ประกอบด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดหมายล่วงหน้า
ศูนย์พัฒนาการและการเรียนรู้สำหรับเด็ก ชั้น 1 อาคารสมสราญ
โทร 02 532 4444 ต่อ 1135, 1143
ให้บริการโดยนักจิตวิทยาคลินิก
ผู้มีใบประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพที่ทำงานร่วมกับ กุมารแพทย์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรม จิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด ร่วมกันให้การดูแลรักษาเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี สมวัย มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ต่อการเรียนรู้ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขทั้งเด็กและครอบครัว
ให้บริการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาแก่บุคคลทั่วไป
ผู้รับบริการไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้มีอาการทางจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เกิดความเครียด ความเศร้า ความกลัว หรือความรู้สึกว่าไม่สามารถปรับตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก็สามารถเข้ารับบริการการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาคลินิกได้เช่นกัน เป้าหมายเพื่อลดความเครียดและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่ผู้รับบริการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้รับบริการไปในทางที่ดีขึ้น โดยใช้กระบวนการทางจิตวิทยา การบำบัดด้วยการรู้คิด (CBT) การบำบัดด้วยจิตวิทยาพลวัตร (Psychodynamic Psychotherapy) การเยียวยาทางจิตใจ (Supportive Psychotherapy) ซึ่งหากผู้รับบริการ เข้ารับบริการแล้วควรรับประทานยาทางจิตเวช ทางคลินิกสามารถส่งต่อจิตแพทย์ได้โดยตรง
ขอบเขตการให้บริการ คลินิกจิตวิทยาคลินิก
- บริการ ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาแก่บุคคลทั่วไป
- บริการการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยาคลินิก
- ประเมินด้านพัฒนาการ สมาธิ อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ และให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรอย่างเหมาะสม
- โปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการรอบด้าน แก่ เด็กพิเศษ และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าด้านต่างๆ
การทดสอบทางจิตวิทยาคลินิก
- การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก (เพื่อประกอบการวินิจฉัยและการรักษาของจิตแพทย์)
- การทดสอบพัฒนาการเด็ก
- การตรวจประเมินเชาว์ปัญญา (IQ Test) และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- การตรวจประเมินพยาธิสภาพทางสมอง
- การตรวจประเมินพยาธิสภาพทางจิต
- การตรวจประเมินเพื่อประกอบการขอรับบุตรบุญธรรม
- การตรวจประเมินเพื่อขอรับทุน ก.พ.
- การตรวจประเมินบุคลิกภาพ ก่อนรับเข้าทำงาน
- การตรวจประเมินความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
การบำบัดทางจิตวิทยา
- การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological Counseling)
- จิตบำบัดรายบุคคล
- พฤติกรรมบำบัด
พัฒนาการเด็กและครอบครัว
- โปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการรอบด้าน แก่ เด็กพิเศษ และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าด้านต่างๆ
- ประเมินด้านพัฒนาการ สมาธิ อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ และให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรอย่างเหมาะสม
- ตรวจประเมินเพื่อหาสาเหตุแนวทางการช่วยเหลือ แก้ไขและรักษาโดยกุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมในเด็ก
- ตรวจประเมินเชาว์ปัญญา ( IQ Test) ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน (Achievement Test) และการทดสอบทางจิตวิทยาอื่นๆโดยนักจิตวิยาคลินิก
- ประสานงานกับผู้ปกครอง คุณครูและโรงเรียน
เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือหรือแก้ไขร่วมกัน ปัญหาการเรียนอาจสังเกตจากการที่บุตรหลานของท่านผลการเรียนแย่ลง เรียนไม่ดี เรียนช้าสมาธิสั้น ไม่รับผิดชอบไม่สนใจการเรียน อารมณ์หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น
การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological test) โดยนักจิตวิทยาคลินิก เพื่อประเมินความสามารถทางระดับสติปัญญา ปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ เป็นต้น สำหรับตรวจวัดระดับความสามารถทางสติปัญญา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป
“ไอคิว” หรือ Intelligence Quotient เป็นระดับสติปัญญาหรือเชาวน์ปัญญา เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่ง คือ ได้รับการกระตุ้นหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของสมองหรือไม่การวัดไอคิวจะเริ่มวัดได้ตั้งแต่ 6 ขวบ ขึ้นไป เพราะมีระดับหรือเกณฑ์ในการเทียบเคียง ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบ จะใช้วิธีการประเมินระดับพัฒนาการเมื่อเทียบกับอายุจริง หรือ ดีคิว (Development Quotient)
- ประเมินพัฒนาการด้านภาษา วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการพูด การเข้าใจภาษา และการใช้ภาษา
- สอนการเข้าใจภาษา การใช้ภาษา ในเด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาบกพร่อง
- แก้ไขการพูด เช่น พูดไม่ชัด พูดติดอ่างหรือ เสียงแหบ
- สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางด้านภาษา โดยเฉพาะการพูด อาทิ เด็กพูดช้า ออทิสติก
5.1 โปรแกรม ปรับพฤติกรรม และ การกระตุ้นพัฒนาการกลุ่ม (Group Therapeutic)
สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 6 ปี เข้าร่วมกิจกรรมในศูนย์การดูแลเด็กก่อนวัยเรียน หนึ่งห้อง (ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ โดยไม่ใช้อายุปฏิทินเป็นเกณฑ์) เด็กจะได้รับการฝึกทักษะ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อความหมาย สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆ สามารถช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตร ประจำวัน ฝึกการปรับตัวเข้ากับกลุ่ม เตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน
5.2 โปรแกรม การทำพฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy)
สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 3-6 ปี ที่สามารถไป โรงเรียนได้แล้ว แต่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมที่ควรได้รับการแก้ไข เช่น ไม่ยอมนั่งในห้องเรียน แยกตัว มีปัญหาทางอารมณ์ เล่นกับเพื่อนไม่เป็น รับประทานอาหารไม่ได้ กลัวอาหาร เป็นต้น โดยการปรับพฤติกรรมรายบุคคล หรือ อาจจะเข้ากลุ่ม แล้วแต่กรณี
5.3 โปรแกรม การกระตุ้นการผสมผสานประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory integration)
5.3.1 ทำการกระตุ้นและฝึกทักษะ เป็นรายบุคคลครั้งละ 1 ชั่วโมง เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านพฤติกรรมของเด็ก ในการตอบสนองต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานของสมองบางส่วนยังไม่พัฒนา เช่นระบบการทรงตัว (Vestibular System) แสดงออกโดยการแสดงอาการกลัวเมื่อต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นที่ไม่ราบเรียบ โยกเยก สูงจากพื้น ทำให้มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่งุ่มง่าม ไม่คล่องแคล่วสมวัย ไม่ชอบปีนป่ายหรือขึ้นลงบันได หรือในบางคนจะมีลักษณะกระตุ้นตัวเอง คือ ชอบหมุนตัวเอง มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา อยู่ไม่นิ่ง เป็นต้น ระบบการรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive System)มักแสดงพฤติกรรม หกล้มบ่อย พฤติกรรมการเดินเขย่งปลายเท้า มีความยากลำบากในการใช้มือ ไม่สามารถกะแรงที่ต้องใช้ในกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม เช่น เขียนหนังสือด้วยแรงกดที่มากเกินไปจนกระดาษทะลุ หรือเขียนเส้นบางมากจนเกินไป ระบบการรับสัมผัส (Tactile System) สังเกตได้จากการไม่ชอบการถูกตัวเบาๆ แต่ชอบการกอดแน่น ๆ รับประทานอาหารแบบซ้ำๆ กลัวต่อผิวสัมผัสที่แตกต่าง เช่นทราย ผิวขรุขระ หรือหยุ่น ๆมีความยากลำบากในการปรับตัวเข้ากับคนแปลกหน้า เปลี่ยนแปลงยาก ไม่ชอบใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ ทำให้นำไปสู่พฤติกรรมแยกตัว หันเหความสนใจง่าย พัฒนาการของการใช้มือล่าช้ากว่าวัย เป็นต้น
5.3.2 โปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคม เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์และสังคม เช่นพฤติกรรมแยกตัว เข้าหาเพื่อนไม่เป็น เล่นของเล่นไม่เป็น ( เวลาตามนัด )
5.3.3 โปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการรายบุคคล
- ตรวจประเมินพัฒนาการรอบด้าน
- กระตุ้นพัฒนาการให้เหมาะสมกับวัย
- ให้คำแนะนำ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครอง หรือผู้เลี้ยงดู
- ให้ข้อมูลด้านพัฒนาการแก่ผู้สนใจ
โปรแกรมกิจกรรมบำบัด ให้การรักษาโดย นักกิจกรรมบำบัด ประเมินสมรรถภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ปรับพฤติกรรม พร้อมกระตุ้นพัฒนาการด้านการรับรู้ อารมณ์ และพัฒนาการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก แก้ไขความบกพร่องทางด้านร่างกาย อารมณ์ การเรียน โดยการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ โดยการนำกิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม เป็นวิธีใช้ในการบำบัดรักษาให้การบำบัด รักษา ในกลุ่มเด็กที่บกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์ เด็กออติสติก เด็กมีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ เด็กที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กมีปัญหา
- ตรวจวินิจฉัย ให้การรักษา และฟื้นฟู
- วิเคราะห์การเคลื่อนไหว การทรงตัว และท่าเดิน
- วางแผนการรักษาและให้การดูแลแบบองค์รวม ทั้งส่วนส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยร่วมกันกับสหวิชาชีพ ได้แก่ อรรถบำบัด (การฝึกพูด) จิตบำบัด กายอุปกรณ์ (อุปกรณ์เสริม) และเครื่องช่วยสำหรับคนพิการต่างๆ สำหรับเด็ก
- ประสานความเข้าใจในแนวทางการฟื้นฟูระหว่าง ผู้ป่วยเด็ก ครอบครัว แพทย์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง บุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ให้การดูแลผู้ป่วยเด็ก มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งส่วนของผู้ป่วยและครอบครัวคนใกล้ชิด โดยเน้น ครอบครัวบำบัด
- ให้คำแนะนำปรึกษา Home program สำหรับการกลับไปปฏิบัติเองที่บ้าน
- ติดตามผลการพัฒนาการของเด็ก และ ตรวจ ประเมิน วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางในการแก้ไข โดยให้การดูแลแบบองค์รวม
- เด็กที่มีพัฒนาการบกพร่องอันมีผลจากโรคทางสมอง เช่น สมองฝ่อลีบ สมองบวมน้ำ หรือสมองพิการ เด็กที่มีพัฒนาการช้า เด็กที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวบกพร่อง เป็นต้น
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์
- ตรวจวินิจฉัยเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ พฤติกรรมและการเรียนรู้ เช่น พูดช้า สมาธิสั้น ออทิสติก LD เด็กที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เป็นต้น
- ให้การรักษา คำแนะนำ และการดูแลแบบองค์รวม โดยแพทย์ทำงานร่วมกับนักสหวิชาชีพ
- ประเมินพัฒนาการและการเจริญเติบโตในเด็กปกติ เพื่อให้คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการ พฤติกรรมและการเลี้ยงดูเด็ก