คุณเคยเป็นไหม? ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี แต่ก็ไม่รู้ว่าขั้นตอนการตรวจแต่ละอย่างนั้นสำคัญกับสุขภาพอย่างไร แล้วโปรแกรมตรวจสุขภาพของเรานั้นได้ตรวจแบบครบถ้วนเหมาะสมตามช่วงวัยแล้วหรือไม่ ? วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับการตรวจสุขภาพคัดกรองโรคโดยเครื่องมืออัลตราซาวนด์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างว่าแต่ละแบบนั้นดีอย่างไร สามารถช่วยสแกนโรคอะไรได้บ้าง
ตรวจอัลตราชาวนด์เช็กความผิดปกติ
การอัลตราซาวนด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound Scanning) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เกิดภาพ ซึ่งสามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆ ทำให้เห็นถึงความผิดปกติ ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้ โดยทั่วไปการตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด เพราะเป็นเพียงการใช้หัวตรวจเคลื่อนไปบนผิวหน้าท้องภายนอก ไม่ต้องมีการใช้ยาชาหรือฉีดยา อีกทั้งคลื่นเสียงที่ใช้ก็มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตราย
โดยการตรวจอัลตราซาวนด์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน
เป็นการตรวจดูอวัยวะช่องท้องส่วนบนเหนือระดับสะดือขึ้นไป ได้แก่ ตับ, ม้าม, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดีส่วนต้น, ไต, หลอดเลือดแดงใหญ่ และตับอ่อน (บางรายเห็นได้บางส่วน) ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีก้อนที่ผิดปกติ นิ่วที่ไต นิ่วที่ถุงน้ำดี เป็นต้น ผู้ที่จะตรวจส่วนใหญ่ คือ ผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง หรือมีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ตรวจได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนล่าง
เป็นการตรวจดูอวัยวะของช่องท้องส่วนล่างต่ำกว่าระดับสะดือลงไป ได้แก่ มดลูก, รังไข่ (หญิง), ขนาดของต่อมลูกหมาก (ชาย), กระเพาะปัสสาวะ, ไส้ติ่ง และบริเวณช่องท้องส่วนล่าง อื่นๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่, ก้อนเนื้อในมดลูก, ต่อมลูกหมากผิดปกติ เป็นต้น การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนล่าง มักจะตรวจกันมากในกลุ่มผู้หญิงที่อายุ 30 ปี ขึ้นไป หรือกลุ่มที่ปวดท้องประจำเดือนเป็นประจำ หรือประจำเดือนผิดปกติ ตรวจโดยใช้หัวตรวจ ทำการตรวจบริเวณหน้าท้อง
การตรวจด้วยวิธีนี้จะต้องตรวจในขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร (ผู้เข้ารับการตรวจจึงควรดื่มน้ำเปล่าและต้องกลั้นปัสสาวะ) เนื่องจากลมในลำไส้จะบดบังมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงหรือต่อมลูกหมากในผู้ชาย ทำให้มองเห็นภาพอวัยวะได้ไม่ชัดเจน แต่เมื่อมีน้ำในกระเพาะปัสสาวะมากพอ กระเพาะปัสสาวะจะขยายออกช่วยให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้
ทำไมต้องตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง?
เตรียมตัวอย่างไร? ถ้าต้องตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง
ขั้นตอนในการตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง
การตรวจอัลตราซาวนด์จะทำการตรวจโดยแพทย์ ผู้รับการตรวจนอนลงบนเตียงจากนั้นแพทย์จะทาเจลเย็นๆ ลงบนผิวหนังในบริเวณที่จะทำการตรวจ เพื่อช่วยในการส่งผ่านคลื่นเสียงจากหัวตรวจ ผ่านผิวหนังเข้าไปดูอวัยวะต่างๆ ในขณะตรวจแพทย์จะกดหัวเครื่องตรวจบนผิวหนังหรือร่างกายส่วนที่จะตรวจเบาๆ แล้วเคลื่อนไปจนทั่วบริเวณที่ตรวจ โดยแพทย์และผู้ป่วยจะมองเห็นภาพอวัยวะจากการตรวจบนจอ การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10-45 นาที ขึ้นกับตำแหน่งอวัยวะที่ต้องการตรวจและความผิดปกติ
หลังการตรวจอัลตราซาวนด์มักไม่มีผลข้างเคียงใดๆ และสามารถกลับบ้านได้ทันที ผู้เข้ารับการตรวจจะสามารถขับรถ ดื่มน้ำ รับประทานอาหาร และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ผลการตรวจอัลตราซาวนด์ส่วนใหญ่จะทราบได้หลังจากการตรวจเสร็จสิ้น ส่วนมากจะมีการวิเคราะห์ภาพที่ได้จากการอัลตราซาวนด์และส่งรายงานไปยังแพทย์ที่สั่งตรวจ โดยแพทย์อาจอธิบายหรือพูดคุยเกี่ยวกับผลลัพธ์การตรวจได้ภายในวันนั้นเลยว่าปกติหรือมีความผิดปกติบริเวณอวัยวะส่วนไหนอย่างไรบ้าง