ฮอร์โมน
18 มิถุนายน 2024
ฮอร์โมน
ฮอร์โมนเป็นสารที่ถูกผลิตมาจากต่อมไร้ท่อ โดยมีหน้าที่เป็นตัวนำส่งข้อมูลให้เกิดการทำงานหรือหยุดการทำงานจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งผ่านกระแสเลือด ซึ่งฮอร์โมนมีความสำคัญต่อการทำงานทุกระบบในร่างกาย หากฮอร์โมนมีการหลั่งที่ผิดปกติไปอาจส่งผลต่อระบบร่างกายโดยรวมได้ ดังนั้น การตรวจฮอร์โมนจึงมีความสำคัญ หลายครั้งที่คุณรู้สึกว่าร่างกายเริ่มมีปัญหาหรือผิดปกติ อาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนไม่สมดุลก็เป็นได้
ผู้หญิงและผู้ชายในร่างกายจะมีทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและฮอร์โมนเพศชาย
ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง จะวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ก็ตาม ซึ่งฮอร์โมนสำหรับแต่ละเพศหรือแต่ละช่วงวัยก็มีชนิดหรือปริมาณฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป และยังมีการทำงานที่แตกต่างกันไปตามเพศและวัยอีกด้วย เช่น ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต, ฮอร์โมนที่คอยควบคุมระบบเผาผลาญ, ฮอร์โมนควบคุมการนอนหลับ และอีกมากมาย อย่างไรก็ตาม หากการหลั่งฮอร์โมนไม่สมดุล ไม่เหมาะสมกับเพศและวัยตามที่ควรจะเป็น รวมถึงความสามารถในการผลิตฮอร์โมนลดลงจากอายุและโรคภัยต่าง ๆ ล้วนทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติได้ ซึ่งหลายครั้งอาจไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจนว่ามาจากฮอร์โมนหรือไม่ แต่ถ้ายิ่งปล่อยไว้ไม่รักษา ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ย่ำแย่ลง การตรวจฮอร์โมนจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะหลายครั้งการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติที่คุณกำลังเผชิญ อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการสังเกตอาการโรคเพียงอย่างเดียวแต่การตรวจระดับฮอร์โมนจะช่วยเป็นตัวชี้วัดว่าอาการผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนหรือไม่
มาทำความรู้จักฮอร์โมน
- ฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมนสำคัญในเพศชายที่ร่างกายสร้างจากอัณฑะ มีหน้าที่ควบคุมและสร้างลักษณะทางกายภาพของเพศชาย ทั้งยังสนับสนุนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้สมดุล เช่น ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ และมวลกระดูก รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และมีส่วนน้อยที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิง การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน ซึ่งหากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปอาจทำให้มีการสะสมไขมันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนง่าย และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิดและไขมันในเส้นเลือด
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน Progesterone ถูกสร้างจากรังไข่ในช่วงหลังไข่ตกและบางส่วนจากรก โดยจะมีหน้าที่ควบคุมภาวะไข่ตก และการมีประจำเดือนกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนที่ได้รับการผสมจากไข่และอสุจิแล้ว ดูแลการตั้งครรภ์ ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย
- ฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ถูกสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วตกจากรังไข่ในเพศหญิง ส่วนในเพศชาย ฮอร์โมน LH จะมีหน้าที่ในการกระตุ้นสร้างอสุจิ หากฮอร์โมน LH แปรปรวนจะมีผลต่อความสามารถในการสืบพันธุ์ได้
- ฮอร์โมน Follicular Stimulating Hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองเพื่อกระตุ้นให้ไข่มีการเจริญเติบโตและพร้อมต่อการผสมกับอสุจิ รวมถึงมีผลต่อการเติบโตทางเพศในช่วงวัยเจริญพันธุ์ หากฮอร์โมน FSH ผิดปกติจะทำให้ไม่มีการเจริญเติบโตของไข่และอาจมีผลต่อความสามารถในการสืบพันธุ์ได้และยังสามารถช่วยติดตามภาวะที่จะนำไปสู่วัยทองได้
สัญญาณเตือนและอาการที่บ่งชี้ว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลหรือผิดปกติ
ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย และมักส่งผลให้เกิดความผิดปกติ เช่น
- นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นไม่สดชื่น
- พลังงานลดลง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- น้ำหนักเพิ่ม/ลดลงผิดปกติ
- สมรรถภาพทางเพศลดลง
- สิวอักเสบ ผิวพรรณเปลี่ยนไป มีริ้วรอย
- ผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ
- อารมณ์แปรปรวน
- เริ่มเข้าวัยทอง
- ภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน
- สรีระรูปร่างยังไม่เปลี่ยนแปลงไปในเพศที่ต้องการ
ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นเป็นอาการของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลที่พบได้บ่อย ซึ่งแต่ละเพศหรือแต่ละวัยหากมีฮอร์โมนบางตัวที่บกพร่องก็สามารถส่งผลต่อการทำงานของร่างกายที่ต่างกันอีกด้วย
การตรวจฮอร์โมนสำหรับกลุ่ม LGBTIQ+
สำหรับการตรวจฮอร์โมนของชาว LGBTIQ+ มักจะเป็นการตรวจฮอร์โมนเพื่อใช้ปรับฮอร์โมนเพศให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ โดยมีทั้งปรับฮอร์โมนเพื่อให้มีความเป็นหญิงมากยิ่งขึ้น หรือปรับฮอร์โมนเพื่อให้มีความเป็นชายมากขึ้น ซึ่งการตรวจฮอร์โมนสำหรับกลุ่ม LGBTIQ+ นั้นจะสามารถแบ่งได้ตามเพศสภาพ ดังนี้
- สำหรับเพศชาย ที่ต้องการปรับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์เพศ จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมนเพศชาย เช่น เทสโทสเตอโรน (Testosterone) และตรวจฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) เพื่อให้แพทย์สามารถให้ยาเทคฮอร์โมน หรือยากดฮอร์โมนเพศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
- สำหรับเพศหญิง ที่ต้องการปรับฮอร์โมนให้ตรงกับอัตลักษณ์เพศ อาจต้องตรวจฮอร์โมนเพศชาย เพื่อใช้ในการคำนวณปรับระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ได้อย่างเหมาะสม
นอกจากการตรวจค่าฮอร์โมนจะสำคัญสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพและผู้ที่ต้องการเทคฮอร์โมนสำหรับกลุ่ม LGBTIQ+ การตรวจวิตามินก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
สิ่งที่ได้รับจากการตรวจโปรแกรมสมดุลฮอร์โมน
- ช่วยให้รู้ระดับฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย
- หากพบภาวะไม่สมดุล จะได้ดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด
- มีแพทย์ชำนาญการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และเหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล
- ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ตรงกับตัวเรา
- สามารถนำไปใช้ในการให้ฮอร์โมนทดแทนได้
วิธีการเตรียมตัวก่อนไปตรวจฮอร์โมน
- ควรเข้ารับการตรวจในช่วงเช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่สามารถตรวจระดับฮอร์โมนได้แม่นยำที่สุด
- สำหรับเพศหญิงที่ต้องการตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง แนะนำให้เข้ารับการตรวจฮอร์โมนในวันที่ 21 ของรอบเดือน
- หากมีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด หรือยาฮอร์โมน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนตรวจฮอร์โมน
- ทั้งนี้หากคุณต้องการตรวจฮอร์โมนไปพร้อมๆกับการตรวจสุขภาพประจำปีก็สามารถงดน้ำงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจฮอร์โมนตามแพทย์แนะนำได้เลย