เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สัญญาณของโรคหัวใจ
30 มิถุนายน 2023
อาการเจ็บหน้าอก ที่หลายคนเป็น ๆ หาย ๆ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคหัวใจได้ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในอาการของ “กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” ซึ่งเป็นอันตรายที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน ซึ่งอาการนี้สามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนรอบข้างมีอาการดังกล่าว ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์โดยเร็ว
โรคที่อาจเกิดขึ้นได้จากอาการเจ็บหน้าอก
- โรคหัวใจ อาการเจ็บหน้าอกนั้นเป็นหนึ่งในอาการหลักของโรคหัวใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกแบบปวดเค้น จากการที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายจากภาวะหัวใจขาดเลือด อีกทั้งยังมีโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจโต ลิ้นหัวใจยาว เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และอีกหลายโรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้
- โรคปอด อาการเจ็บหน้าอกอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของปอด ทั้งโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ปอดบวม หรือฝีในปอด ก็สามารถทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้เช่นกัน จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องคอยสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
อาการเจ็บหน้าอกที่ต้องเฝ้าระวัง อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคหัวใจ อาจมีอาการดังต่อไปนี้
- เจ็บหรือแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรกดทับ อาจมีอาการเจ็บหรือปวดร้าวไปถึงบริเวณคอ กราม หรือไหล่
- จุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปี่
- รู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจไม่สะดวก
- เหงื่อออกมาก ร่วมกับอาการคลื่นไส้
- ใจเต้นเร็ว ใจสั่น
- เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
หากใครที่มีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะมีโอกาสสูงที่จะเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือโรคหัวใจอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
การตรวจรักษา อาการเจ็บหน้าอกนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในอาการเริ่มต้นของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ซึ่งในปัจจุบันนี้มีวิธีการตรวจรักษาอยู่หลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย เช่น การเดินสายพาน
- ตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
- ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Multislice CT scan)
- ตรวจภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac MRI)
ในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจจะต้องทำการตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ หรือทำการตรวจสวนหัวใจ (Coronary Angiography – CAG) เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น หากตรวจพบได้เร็วเท่าไหร่ ผู้ป่วยก็ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่านั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับวิธีการรักษาจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน นั่นคือ
- การรักษาโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือด
- การรักษาโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน
- การรักษาโดยการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งสามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการเกิดโร