ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย เป็นความผิดปกติซึ่งอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ การฉายรังสี หรือการติดเชื้อ โดยหมายถึงเด็กแรกเกิดที่มีรอบศีรษะขนาดเล็ก กว่าที่ควรจะเป็นเมื่อพิจารณาตามอายุครรภ์ที่แรกคลอด และเพศ ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดอาจเเป็นเดี่ยวๆ หรืออาจจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการอื่น ๆ เช่น อาการชัก พัฒนาการล่าช้า หรือความผิดปกติในการดูด หรือกลืน อาการเหล่านี้มีความแตกต่างกันของความรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
การคาดการณ์ผลกระทบของการมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่ยาก จำเป็นต้องผ่านการตรวจสุขภาพ การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจสอบ และประเมินผลกระทบต่อทารก ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะสำหรับ ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด
มีวิธีการยืนยันภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดในทารกหรือไม่
วิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุดเพื่อประเมินว่าทารกมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด คือ การวัดรอบศีรษะในทารกแรกเกิด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อแรกเกิด และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 24 ชั่วโมง เมื่อทารกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด ทีมสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์จะเริ่มกระบวนการของการติดตาม และการดูแลทารกอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง
หญิงตั้งครรภ์ ควรมารับการตรวจสุขภาพ และการติดตาม ดูแลรักษาใน คลินิคฝากครรภ์ อย่างสม่ำเสมอ