โรค RSV คือโรคอะไร มีอาการอย่างไร
RSV คือโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน (หลอดลม) และส่วนล่าง (ปอด) เป็นโรคติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือ สัมผัสสิ่งแวดล้อม
ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้
RSV มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เสมหะ ถ้าอาการรุนแรงขึ้นจะมีอาการ หอบ เหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด ในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังข้างต้น สามารถเกิดอาการรุนแรงได้ เช่น มีภาวะปอดติดเชื้อจนกระทั่งระบบหายใจล้มเหลวทำให้มีความจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิต
RSV เกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยมักจะมีอาการรุนแรงในผู้สูงอายุมากกว่าในเด็ก
โรค RSV มีการแพร่เชื้ออย่างไร
ไข้หวัดใหญ่ หรือ โควิดแทน
ความรุนแรงของโรค RSV ในผู้สูงอายุ
การติดเชื้อ RSV เป็นปัจจัยสำคัญของอาการกำเริบในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ โรคหอบหืด พบอัตราการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุโรคดังกล่าวอยู่ที่ 11.4% และ 7.2% ตามลำดับ
ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและการป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่าในกลุ่มผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี และมีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้จะมีโอกาสการนอนโรงพยาบาลด้วยการติดเชื้อ RSV มากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว เช่น
ㆍโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 4.6 เท่า
ㆍโรคหัวใจขาดเลือด 2.4 เท่า
ㆍโรคไตเรื้อรัง 6.5 เท่า
ㆍโรคเบาหวาน 2 เท่า
ㆍโรคอ้วน ที่มี BMI มากกว่า 40 เพิ่ม 2.8 เท่า
สถานการณ์โรค RSV ในประเทศไทย/โลก จำนวนผู้ติดเชื้อ และ อัตราการเสียชีวิต
ตายในเด็ก 0.12%
มีแนวทางรักษาโรค RSV ได้อย่างไร
โรค RSV ยังเป็นโรคที่ไม่มียารักษาโดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ RSV จึงมักไม่ได้รับการวินิจฉัยและเป็นการรักษาตามอาการ เมื่อไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
มีแนวทางป้องกันโรค RSV ได้อย่างไร
RSV เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ทั่วไป จึงควรป้องกันอย่างเหมาะสม และ ฉีดวัคซีน ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันได้โดยการหมั่นล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และ รับวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์
วัคซีน RSV ในผู้ใหญ่จะช่วยลดความรุนแรงของอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ RSV และเนื่องด้วยยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค การป้องกันและลดความเสี่ยงให้ผู้ป่วยจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต